ติดหวานเสี่ยงกว่า 10 โรค

 

คนไทยติดหวานกันมากๆ จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ต้องออกมาแนะนำให้คนไทยทานน้ำตาลได้ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน เพราะภัยร้ายที่มาพร้อมความหวานนั้นอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคได้

การกินหวานมากเกิน เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

✅ 1. โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) 

เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin)  

การรับประทานน้ำตาล หรือรับประทานหวานมากเกินไป อาจทำให้อินซูลินทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ที่เรียกว่า ภาวะต้านอินซูลิน และหากภาวะต้านอินซูลินรุนแรงขึ้น ตับอ่อนไม่สามารถรับมือกับความต้องการอินซูลินเพื่อใช้รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นและนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (เบาหวานเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองในอนาคตได้ง่ายขึ้น

✅ 2. ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ความดันโลหิต คือ ค่าความดันภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ ส่งผ่านหลอดเลือด เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีสองค่าคือ คือค่าความดันตัวบน เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจบีบตัว และค่าความดันตัวล่าง เป็นค่าความดันขณะที่หัวใจคลายตัว น้ำตาลทำให้ฮอร์โมนแคทีโคลามีน และกรดยูริกสูง ซึ่งต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

ทั้งสิ้น  มีงานวิจัยพบว่าการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง อาจก่อให้เกิด ภาวะความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนั้น การบริโภคน้ำตาลปริมาณมาก โดยเฉพาะจากเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล อาจทำให้เกิดโรคอันตรายอย่างโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ ซึ่งโรคนี้เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ

✅ 3. โรคมะเร็ง (Cancer)

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประชาคมโลกปีละกว่าสิบล้านคนซึ่งในจำนวนนี้มี

คนอายุระหว่าง 30-69 ปี การกินอาหารและเครื่องดื่มเติมน้ำตาลอาจก่อให้เกิดโรคอ้วน ภาวะดื้ออินซูลิน และการอักเสบตามอวัยต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งปัญหาสุขภาพดังกล่าวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็งได้ โดยมีงานวิจัยหนึ่งศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการบริโภคน้ำตาลกับการเกิดโรคมะเร็ง พบว่าการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และมะเร็งลำไส้เล็ก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อินซูลินยังเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโต และการเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็ง ดังนั้น การมีระดับอินซูลินสูงอย่างต่อเนื่องอาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้

✅ 4. ไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)

เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอล หรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้ง 2 ชนิด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากเราพบว่ามีภาวะไขมันในเลือดสูงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ และคอเลสเตอรอลในเลือด คือ งดอาหารประเภทน้ำตาล ขนมหวานทุกชนิด ผลไม้รสหวานจัดและผลไม้แปรรูป รวมถึงน้ำหวาน เป็นต้น ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง 

การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ

✅ 5. โรคหัวใจ และหลอดเลือด (Coronary Artery Disease: CAD/Coronary Heart Disease: CHD)

เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้ระบบสูบฉีดโลหิตของร่างกายทำงานเปลี่ยนแปลงไป มีผลต่อกระบวนการสูบฉีดของหัวใจ เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (ไขมันเลว) หรือ LDL(Low Density Lipoprotein) รวมถึงทำให้อินซูลินมีการหลั่งมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง 

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังส่งผลให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำให้เซลล์เยื่อบุภายในหลอดเลือดทำงานผิดปกติ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งซึ่งทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเสื่อมสภาพและถูกทำลาย และก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมาได้

✅ 6. โรคอ้วน ภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)

เนื่องจากน้ำตาลจะถูกเก็บไว้ในตับ ส่งไปในกระแสเลือดและเปลี่ยนเป็นกรดไขมัน เมื่อตับทำงานไม่ทันกับปริมาณของน้ำตาล จะทำให้น้ำตาลเปลี่ยนรูปกลายไปเป็นไขมันสะสมในร่างกาย จึงเกิดเป็นโรคอ้วนได้   “โรคอ้วนลงพุง”  อันเป็นลักษณะที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของกลุ่มอาการเมตาบอลิก ซึ่งประกอบด้วย ภาวะอ้วนลงพุง ระดับไขมันผิดปกติในเลือด ความดันโลหิตสูง และระดับน้ำตาลสูงในเลือด กลุ่มเสี่ยงคือตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป

✅ 7. ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver)

ภาวะไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนำไขมันที่รับประทานไปใช้ได้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ หากไม่รักษาอาจส่งผลให้กลายเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ โดยพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในอายุ 40-50 ปีขึ้นไป ที่ประสิทธิภาพการทำงานของระบบการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง  ไขมันพอกตับ คือภาวะสะสมไขมัน ซึ่งส่วนมากอยู่ในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ตับ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ดื่มสุราเป็นประจำ มีรูปร่างอ้วน เป็นเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับได้ 

เนื่องจากเมื่อตับสังเคราะห์ฟรุกโตสให้กลายเป็นไขมันแล้ว จะถูกเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ และไขมันบางส่วนจะถูกเก็บไว้ที่ตับ และกลายเป็นเม็ดไขมันในเวลาต่อมา การสะสมของเม็ดไขมันเหล่านี้ นำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับได้

✅ 8. โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกเปราะ (Osteoporosis)

คือโรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกน้อยลงจากการสะสมกระดูกน้อยเกินไปพันธุกรรมและการดำเนินชีวิต ที่มีผลต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้เร็วขึ้น โดยปกติมักพบมากในเพศหญิง แต่เพศชายสามารถพบได้  20 เปอร์เซ็นต์  โรคนี้ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาว น้ำตาลสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำเกิดความไม่สมดุลในเลือด เมื่อเลือดมีความเป็นกรดมากขึ้น ร่างกายจึงต้องปรับสมดุลโดยการดึงแร่ธาตุต่างๆ ที่สะสมอยู่ในกระดูกมาใช้แทน

หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ทำให้ร่างกายไปดึงแร่ธาตุต่างๆ มาใช้งาน รวมถึงแคลเซียมด้วย จึงส่งผลให้เกิดปัญหากระดูกเปราะหรือกระดูกพรุนได้

✅ 9. ไมเกรน  (Migraine) 

คือโรคที่เกิดจากการบีบตัว และคลายตัวของหลอดเลือดแดงในสมองมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว พร้อมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจมีอาการตาพร่ามัวหรือเห็นแสงระยิบระยับร่วมด้วย เพราะการรับประทานอาหารหวาน หรือน้ำตาลมากๆ  มีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้ 

✅ 10. ฟันผุ (Carie)

ปัจจัยที่ทำให้เกิดฟันผุ คือการทานอาหารโดยเฉพาะประเภทน้ำตาลมากเกินไป น้ำตาลนั้นย่อยง่าย แบคทีเรียในช่องปากจึงสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นสาเหตุของปัญหาในช่องปากต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟันผุ เคลือบฟันกัดกร่อน โรคเหงือก และกลิ่นปาก นอกจากนี้ยังทำให้เลือดข้นเหนียว เพราะหากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้เลือดหนืดข้นมากขึ้น จึงส่งผลให้เลือดจะไหลเวียนนำไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ช้า และทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะผิดปกติ รวมไปถึงฟันผุก่อนวัยอันควรด้วย

 

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แชร์ปัญหาและสอบถามเรื่องสุขภาพ

Line : @nadeshiko.th  

แอดเป็นเพื่อนพูดคุยกันได้นะคะ

เรามีทีมนักโภชนการจากญี่ปุ่นพร้อมให้คำปรึกษาคะ