อาการเสี่ยงต่อภาวะต่อมหมวกไตล้า

 

อาการเสี่ยงต่อภาวะต่อมหมวกไตล้า

เป็นอาการที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามไป หรือเรียกได้ว่าเป็นโรคร้ายที่ถูกลืม ทั้ง ๆ ที่เกิดขึ้นเยอะมาก และสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน การตรวจเช็คภาวะต่อมหมวกไตล้าอย่างง่ายๆ นั้น ให้คุณสังเกตว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่

1. ตื่นนอนยาก นอนไม่ค่อยหลับ

2. เครียดและกังวลอยู่ตลอดเวลา 

3. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

4. ภาวะโลหิตจาง 

5. การอักเสบ ฟกช้ำง่าย

6. ประจำเดือนผิดปกติ

7. ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา

8. อยากของหวาน หรือของเค็ม

9. แพ้กลางวัน ชอบกลางคืน

10. ป่วยบ่อย ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

11. มีปัญหาความดันโลหิต

12. อาการอื่นๆ ภูมิแพ้ ,หายใจลำบาก, ปัสสาวะบ่อย, ปวดหลัง, ชานิ้วมือนิ้วเท้า ,อ่อนเพลียอย่างรุนแรง

 

ต่อมหมวกไตสำคัญไฉน ดูแลอย่างไรดี?

ต่อมหมวกไตเป็นต่อมขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายหมวกทรงสามเหลี่ยม ตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้ง 2 ข้าง ซึ่งต่อมหมวกไตแต่ละข้าง

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน และแต่ละส่วนทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนแตกต่างกันไป 

ต่อมหมวกไตส่วนนอก ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่ตอบสนองเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะเครียดหรือภาวะฉุกเฉิน 

โดยช่วยควบคุมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงระดับความดันโลหิต และผลิตฮอร์โมนอัลดอสเตอโรน (Aldosterone) ที่ช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตด้วยการสร้างสมดุลของโพแทสเซียม และโซเดียมในร่างกาย

ต่อมหมวกไตส่วนใน ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline) ที่ช่วยกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป็นสารสื่อประสาทด้วยเช่นกัน และยังผลิตฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) ที่มีหน้าที่คล้ายอะดรีนาลีน แต่นอร์อะดรีนาลีนสามารถทำให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับต่อมหมวกไต

การทำงานของต่อมหมวกไตนั้นถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมอง และบางส่วนของต่อมไร้ท่อ หากต่อมใต้สมองไม่สามารถควบคุมการผลิตฮอร์โมนของต่อมหมวกไตได้ หรือมีเนื้องอก ทั้งที่เป็นมะเร็งและไม่เป็นมะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไต รวมทั้งเกิดการติดเชื้อที่ต่อมหมวกไต อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับต่อมหมวกไตได้

วิธีรักษาเมื่อเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า

!!! ลดความเครียด

ฝึกการควบคุมลมหายใจเข้าออก นั่งสมาธิ กำหนดจิตให้ตัวเอง 

ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง หาวิธีลดความเครียดลง 

โดยการดึงตัวเองออกจากสิ่งที่ทำให้เครียด

!!!  หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

นอกจากในเรื่องของจิตใจแล้ว สุขภาพร่างกายก็มีผลต่อ

ภาวะต่อมหมวกไตล้าเช่นกัน ให้หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ 

โดยเลือกประเภทการออกกำลังกายที่รู้สึกว่าสนุก 

เช่น โยคะ เดินเล่น ว่ายน้ำ ตีแบดฯ

!!! ห้ามงดอาหารเช้า หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม

การเลือกรับประทานอาหารก็ส่งผลโดยตรงต่อภาวะต่อมหมวกไตล้าเช่นเดียวกัน คนที่รู้ตัวว่ามีภาวะต่อมหมวกไตล้าไม่ควรงดอาหารเช้าเด็ดขาด ควรหลีกเลี่ยงการทานขนมหวานมากเกินไป ทานอาหารเสริมวิตามิน และแร่ธาตุให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามินซี, บี 5, ไนอะซิน (บี 3), แมกนีเซียม เป็นต้น เพื่อเสริมการทำงานของต่อมหมวกไตให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ

 

แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แชร์ปัญหาและสอบถามเรื่องสุขภาพ

Line : @nadeshiko.th  

แอดเป็นเพื่อนพูดคุยกันได้นะคะ

เรามีทีมนักโภชนการจากญี่ปุ่นพร้อมให้คำปรึกษาคะ