วิตามินบี 12 (cyanocobalamine: ไซยาโนโคบาลามีน) เป็นวิตามินละลายน้ำที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้รักษา และป้องกันภาวะขาดวิตามินบี 12 เนื่องจากร่างกายของคนเราสร้างขึ้นเองไม่ได้ จำต้องได้รับจากอาหารเป็นหลัก แพทย์อาจสั่งจ่ายวิตามินเสริมชนิดนี้ให้แก่ผู้ป่วยซึ่งเป็นโรค ที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินบี 12 เช่น โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคขาดสารอาหาร โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ โรคหัวใจ หรือใช้เป็นวิตามินเสริมแก่หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์น้อย มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ติดสุรา เป็นต้น
วิตามินบี 12
ช่วยเปลี่ยนสารอาหารที่รับประทานเข้าไปให้อยู่ในรูปของกลูโคส เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในร่างกาย เสริมการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลัง ช่วยในกระบวนการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ช่วยสร้างไขกระดูก เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร และเยื่อบุทางเดินหายใจ ช่วยสังเคราะห์สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ เป็นต้น
วิตามินบี 12 มีอีกชื่อหนึ่งว่าโคบาลามิน (Cobalamin) และแยกย่อยได้เป็นหลายชนิด เช่น ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) ไฮดรอกโซโคบาลามิน (Hydroxocobalamin) อะดีโนซิล โคบาลามิน (Adenosyl Cobalamin) หรือเมทิลโคบาลามิน (Mecobalamin) แต่ชนิดที่นำมาใช้รักษาภาวะขาดวิตามินบี 12 มากที่สุด คือ ไซยาโนโคบาลามิน ในปัจจุบัน วิตามินบี 12 มักเป็น ส่วนประกอบในวิตามินบีรวม หรือรวมอยู่ในวิตามินชนิดอื่น เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินชนิดนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้วิธีฉีดหรือพ่นแทนการรับประทาน
วิตามินบี 12 หรือ โคบาลามิน (Cobalamin) มีอีกชื่อที่รู้จักกันดีคือ วิตามินแดง เป็นวิตามินเพียงตัวเดียวที่มีแร่ธาตุที่จำเป็นประกอบอยู่ และแตกตัวไม่ดีนักในกระเพาะอาหาร ต้องรวมตัวกับแคลเซียม เพื่อให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
วิตามินบี 12 จะพบในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เป็นหลัก เช่น ตับ ไต นม ไข่แดง ชีส ปลา เนื้อหมู เนื้อวัว อาหารหมักดอง และในสาหร่ายทุกสายพันธุ์ เป็นต้น
ศัตรูของวิตามินบี 12 คือ น้ำ, กรดและด่าง, แอลกอฮอล์, แสงแดด, ยานอนหลับ, ฮอร์โมนเอสโตรเจน
ประโยชน์ของวิตามินบี 12
วิตามินบี 12 เมื่ออยู่ในไขกระดูกจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ช่วยในการเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์ DNA ( Deoxyribonucleic Acid ) เพื่อใช้ในการกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดเลือดแดงเกิดการแบ่งเซลล์เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงตามปกติ
ช่วยบำรุงประสาท ทำให้ระบบประสาทแข็งแรงขึ้น
ช่วยเพิ่มสมาธิ ความจำ และการทรงตัว
ช่วยบรรเทาอาการหงุดหงิด ลดความเครียด
ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย
ประโยชน์วิตามินบี 12 ช่วยทำให้เด็กเจริญอาหาร
ทำให้ร่างกายใช้ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรตได้อย่างเหมาะสม
มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
ประโยชน์ของบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งจากการสูบบุหรี่
ช่วยเสริมสร้างความแข็งของกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้
ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายสามารถทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะระบบประสาทและทางเดินอาหาร
13. ช่วยในการเมแทบอซึมของโฟลาซิน หรือวิตามินบี 9
14. ช่วยให้ธาตุเหล็กในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น และส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่าง
15. ช่วยในการสังเคราะห์เมไทโอนีน และโคลีน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการป้องกันการสะสมไขมันในตับ
16. ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก จะเพิ่มความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารได้มาก
ควรทานบี12 ร่วมกับกรดโฟลิกจะเป็นการเพิ่มพลังที่ดีที่สุด วิตามินบี 12 จะทำงานร่วมกับวิตามินบีอื่น ๆ ได้ดี รวมทั้งวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอีด้วย
หากคุณเป็นมังสวิรัติ รวมถึงไม่รับประทานไข่และนม คุณควรรับประทานวิตามินบี 12 เสริม สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ วิตามินบี 12 ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณ วิตามินบี 12 เป็นส่วนหนึ่งของวิตามินบีรวม มีประโยชน์มากสำหรับผู้หญิงในช่วงระหว่างมี และก่อนมีประจำเดือน สำหรับผู้ที่รับประทานอาหาร ในกลุ่มโปรตีนมากก็ควรรับประทานวิตามินบี 12 เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ หากมีอาการชัดเจนว่าคุณขาดวิตามินหรือร่างกายอ่อนเพลียมาก เนื่องจากวิตามินบี 12 จะดูดซึมได้ไม่ดีนักในกระเพาะอาหาร การทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ต่ำและกรดโฟเลตสูง (มังสวิรัติ) จะทำให้อาการขาดวิตามินบี 12 ไม่แสดงออกมาอย่างเด่นชัด
คนที่อายุมากมักจะมีปัญหาในเรื่องการดูดซึมของวิตามินบี 12 อาจต้องเสริมด้วยการฉีดแทนการรับประทาน
ร่างกายสามารถเก็บสะสมวิตามินบี 12 ไว้ได้ ซึ่งจะแตกต่างจากวิตามินบีชนิดอื่น โดยใช้เวลาถึง 3 ปี กว่าที่วิตามินจะสูญสลายไปจากร่างกาย นอกจากนี้การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่เป็นปกติ จะช่วยการดูดซึมของวิตามินบี 12 อาการของการขาดวิตามินบี 12 อาจใช้เวลาถึง 5 ปีหลังจากที่สะสมในร่างกายหมดไปจึงจะปรากฏให้เห็น
ผลของการขาดวิตามินบี 12
1. การได้รับจากอาหารไม่พอ เช่น คนที่ทานอาหารมังสวิรัติ
2. คนที่มีความผิดปกติของการดูดซึม เช่น การขาด IF
3. เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้เสื่อมทำให้มีการดูดซึมผิดปกติ
4. ไขกระดูกจะไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงให้เจริญเต็มที่ได้
5. มีความผิดปกติของระบบประสาทและเดินไม่ตรงได้
6. มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า
7. ประสาทการรับรู้เรื่องของข้อต่อและการเคลื่อนไหวลดลง
อ่อนแรง หลงลืมบ่อย ๆ
8. ความดันโลหิตตกในท่ายืน ซีด
9. ลักษณะเม็ดเลือดแดงใหญ่กว่าปกติ
ในบางรายถ้าโรครุนแรงมาก ๆ อาจพบทั้งเม็ดเลือดแดง
เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดต่ำกว่าค่าปกติทั้งหมดเลยได้
10. กระเพาะอาหารอักเสบและเซลล์ผนังกระเพาะอาหารฝ่อ (Atrophic Gastritis and Hypochlorhydria) ทำให้การสร้างกรดในกระเพาะอาหารลดลง ทำให้การดูดซึมวิตามินบี 12 ลดลงไปด้วย
11. การใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารอย่างพร่ำเพรื่อเป็นเวลานาน
12. การผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้
13. โรคของลำไส้เล็ก เช่น Crohn Disease, Sprue, Malabsorption Syndrome
14. การติดเชื้อ Pylori ในกระเพาะอาหาร
15. การทำงานของตับอ่อนผิดปกติ (Pancreatic Insufficiency)
16. การติดเชื้อพยาธิในลำไส้เล็ก (Fish Tapeworm)
17. คนที่รับประทานมังสวิรัติมานาน
18. โรคเอดส์หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวี
19. โรคซีดจากการที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง
20. การใช้ยาเบาหวานบางชนิด เช่น Metformin
หากร่างกายขาดวิตามินบี 12 อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทได้ และอีกหลายๆโรคได้